Page 65 - ebook.msu.ac.th
P. 65

ในระยะแรก ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ไม้แซงมากกว่าไม้แขม เพราะไม้แซงมีความคงทนมากกว่า แต่มัก
                จะต้องเดินทางไปตัดในที่ไกลๆ จากหมู่บ้านก็ทำให้ลำบากบ้างเป็นธรรมดา


                       พวกที่ชอบสะดวกและง่ายๆ ก็มักจะใช้ไม้แขม เพราะเป็นไม้ที่ชอบขึ้นอยู่ตามบริเวณหนองน้ำใกล้ๆ
                หมู่บ้าน


                       ในระยะหลัง ทั้งไม้แซงและไม้แขมหายากขึ้น จึงหันมาใช้ไม้ไผ่จักเป็นเส้นมาสานทำเป็นฝาแทน ซึ่งก็มี
                ความคงทนพอๆ กันกับไม้แซงเหมือนกัน


                       ตกมาถึงรุ่นหลัง จึงมีการใช้ไม้จริงมาทำเป็นฝากันมากขึ้นเพราะมีความคงทนถาวรมากกว่าแต่ก็ต้องตี
                “ลีกไม้” ทับตามแนวร่องระหว่างรอยต่อที่ด้านในของแต่ละแผ่นด้วย เช่นเดียวกันกับพื้นเล้า


                       ปัจจุบันอาจจะพบเล้าข้าวที่ใช้สังกะสีมาทำเป็นฝาเล้าบ้างพอสมควร

                       ประตู ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ไม้จริงเป็นแผ่นๆ ใส่จากด้านบนของวงกบทีละแผ่นโดยทำวงกบเป็นร่อง

                ตามแนวตั้งทั้งสองข้างเพื่อใส่แผ่นไม้จริงที่ทำประตู แต่ที่ใช้เป็นบานเปิด-ปิดแบบเรือนพักอาศัยก็มีอยู่ไม่น้อย
                แต่จะเก็บข้าวเปลือกได้น้อยกว่าแบบแรก


                       กะทอด (พรึง) อาจกล่าวได้ว่า กะทอดเป็นได้ทั้งโครงสร้างและเครื่องประกอบ เพราะกะทอด ก็คือ
                แผ่นไม้จริงหนาแข็ง ทำหน้าที่เป็นเสมือนเข็มขัดรัด


                       ตรงส่วนกลางของเรือน ปิดรอบฝาเรือนตามแนวฝาที่จดกับพื้น แต่เมื่อใช้กับเล้าข้าว ก็ยังคงทำหน้าที่
                เช่นเดียวกัน คือตีรัดฝาเล้าข้าวไว้


                       กรณีที่ใช้กับเล้าข้าวนี้ เมื่อมองทางด้านข้างจะเห็นอยู่ในแนวเดียวกันกับค่าวจนดูเหมือนว่าจะเป็นค่าว
                ตัวล่างสุดก็ได้เพราะจะอยู่ด้านในของเสาเล้าเช่นเดียวกัน



                ลักษณะพิเศษของเล้าข้าว


                       การพิจารณาลักษณะพิเศษของเล้าข้าวในที่นี้ เป็นการพิจารณาเปรียบเทียบกับเรือนพักอาศัย ซึ่งเป็น
                สิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างจะคล้ายคลึงกันมากพอสมควร และมีบางส่วนที่แตกต่างกันออกไปบ้าง

                จนกลายเป็นลักษณะพิเศษเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ เช่น

                       โครงสร้างของเล้าข้าว อาจกล่าวได้ว่าโครงสร้างของเล้าข้าวมีความแตกต่างกับเรือนพักอาศัยอย่างชนิด

                ที่เรียกว่าตรงข้ามเลยทีเดียว โดยมีเสาอยู่ข้างนอกเป็นตัวรัดโครงสร้างอื่นๆ ไว้ภายใน และฝาเล้าจะอยู่ในโครงสร้าง
                ทั้งหมดอีกทีหนึ่ง นั้นคือ เสา, ค่าว, ฝา จะอยู่ในตำแหน่งที่ตรงข้ามกันโดยมีค่าวอยู่กลาง


                       ที่มีความแตกต่างกันเช่นนี้ ก็พอจะมองเห็นเหตุผลได้ในแง่ของประโยชน์ใช้สอยได้คือ

                       เล้าข้าวนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการรับน้ำหนักโดยตรง ข้าวเปลือกที่บรรจุอยู่ภายในประมาณ ๓๐๐-

                ๕๐๐ ถัง ต่อ ๑ ห้องเสาของเล้านั้นย่อมจะต้องมีแรงกดลงที่พื้นและแรงผลักออกด้านข้างที่ฝาทั้ง ๔ ด้าน
                มากพอสมควร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาโครงสร้างรัดฝาไว้ภายใน เพื่อผลในการรับน้ำหนักดังกล่าว

                                                            63
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70