Page 43 - ebook.msu.ac.th
P. 43

หนึ่งก่อนได้ แล้วใช้เวลาสะสมวัสดุอุปกรณ์จนมีความพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างเหย้าแบบดั้งตั้งคานในภายหลัง
                ก็ได้


                       แต่บางครอบครัวที่พ่อแม่หรือพ่อเฒ่า - แม่เฒ่า มีเรือนใหญ่มีโข่ง หรือ เรือนน้อย ต่อเคียงคู่กับเรือนใหญ่
                แล้ว พ่อแม่อาจจะใช้รื้อโข่งหรือเรือนน้อย ให้ไปสร้างเป็นเหย้าแบบดั้งตั้งคานได้เลย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอีสาน

                ในหลายๆ แห่ง เรียกเหย้าแบบดั้งตั้งคานนี้ว่า เรือนน้อย ไปด้วย ซึ่งถ้าพิจารณาเหตุผลทางด้านวัสดุรูปร่าง
                ลักษณะ ประโยชน์และความเชื่อแล้ว ก็กล่าวได้ว่าเป็น เรือน ได้ในระดับหนึ่ง ที่ยังไม่สมบูรณ์ตามแบบเรือนใหญ่

                ทั่วไป แต่ก็มีความเหมาะสมสอดคล้องกับขนาดของครอบครัวและอื่นๆ ในการอยู่อาศัยได้ดีขึ้นกว่าเดิม ที่เคยอยู่
                ในตูบต่อเล้าและเหย้าแบบดั้งต่อดิน และก็มีครอบครัวใหม่จำนวนไม่น้อย ที่มีความสามารถที่จะแยกครอบครัว
                ออกจากเรือนใหญ่ของพ่อแม่ / พ่อเฒ่า แม่เฒ่า ออกมาสร้างเหย้าแบบดั้งตั้งคานได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องผ่าน

                การอยู่ตูบต่อเล้าและเหย้าแบบดั้งต่อดินเลย


                       คงจะเนื่องจากเหย้าแบบดั้งตั้งคาน เป็นเรือนน้อยของครอบครัวใหม่ ที่ยังไม่สมบูรณ์แบบเต็มที่เหมือน
                เรือนใหญ่นี้เอง ที่ทำให้ไม่ค่อยเคร่งครัดในเรื่องพิธีกรรมความเชื่อในการสร้าง และการขึ้นอยู่อาศัยเหมือนเรือน
                ใหญ่ ฉะนั้นจะสร้างตอนไหน เมื่อไร หรือจะขึ้นอยู่อาศัยตอนไหน อย่างไรก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำพิธีกรรม

                เลยก็ได้


                       เท่าที่พบหลักฐานทั่วๆ ไป ในอีสานแต่ก่อน การสร้างเหย้ามักจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับขนาดของ
                ครอบครัว ตามความจำเป็นที่เหมาะสมแก่อัตภาพเป็นสำคัญ แต่ต่อมาภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก

                การใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ ๑ เป็นต้นมา มักพบว่าเหย้าแบบดั้งตั้งคาน จะสัมพันธ์กับสังคมที่
                แยกตัวออกไปตั้งชุมชนใหม่ และครอบครัวที่อพยพเคลื่อนย้ายไปหักร้างถางพงทำนา ทำไร่ ห่างไกลจากชุมชน

                เดิมมากกว่า ฉะนั้นเหย้าแบบดั้งตั้งคานในเงื่อนไขนี้ จึงสัมพันธ์กับเศรษฐกิจเป็นสำคัญ


                       ลักษณะและประโยชน์ใช้สอยของเหย้าแบบดั้งตั้งคาน


                       คงจะเนื่องจากเหย้าแบบดั้งตั้งคาน สร้างด้วยไม้จริงทั้งหลังนี้เอง จึงทำให้ถ้าดูเพียงผ่านๆ ผิวเผินแล้ว
                จะเห็นว่าลักษณะคล้ายกันกับเรือนใหญ่ทั่วไป คือดูคล้ายกับจะมีตัวเรือนใหญ่หรือเรือนประธาน แล้วต่อเกยยื่น
                ออกไปทางด้านนอก แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่มีชานแดดเท่านั้น ทั้งยังเป็นเรือนชั้นเดียว ใต้ถุนสูงเหมือนกันด้วยแต่

                ถ้าพิจารณาเฉพาะส่วนในรายละเอียดแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า เหย้าแบบดั้งตั้งคานใช้ไม้จริงทั้งหลังเหมือนเรือนใหญ่
                มีขนาดกว้างใหญ่และแข็งแรงกว่าเหย้าแบบตั้งต่อดิน ที่ใช้ไม้จริงกะเทาะเปลือกเป็นโครงสร้าง แต่ขณะเดียวกัน

                ก็จะต่างจากเรือนใหญ่ ตรงที่มีขนาดเล็กกว่า เพราะมีขนาด ๒ ห้องเสาเท่านั้น ขณะที่เรือนใหญ่มีขนาดยาว ๓
                ห้องเสา ส่วนฝากั้นภายนอกนั้น มักจะเป็นฝาสานลายคุบ หรือไม่ก็จะเป็นฝาไม้จริงที่เรียกว่าแอ้มแป้น แต่จะตี
                ฝาเพียงหยาบๆ พออยู่ได้มิดชิด



                       ลักษณะภายใน มีทั้งที่ปล่อยเปิดโล่งเป็นห้องโถงตลอด แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่กั้นฝาห้องภายในบ้าน
                เพียงห้องเดียว และมักจะกั้นเพียงพอให้รู้ว่า เป็นห้องนอนของเจ้าของเท่านั้น บางทีก็ใช้ฝาสานลายคุบกั้นก็มี

                ถ้าใช้ไม้จริงก็มักจะใช้วิธีต่อชนกันแผ่นต่อแผ่นขึ้นไปอย่างง่ายๆ ส่วนอีกห้องหนึ่งที่อยู่ติดกันนั้น มักให้เป็นห้อง
                ของลูกๆ ส่วนลูกน้อยก็จะให้นอนกับพ่อแม่ เหมือนเหย้าแบบดั้งต่อดิน

                                                            41
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48