Page 42 - ebook.msu.ac.th
P. 42

ในกรณีที่ใช้เสาไม้ง่ามรับโครงสร้างขื่อและคานนั้น จะต้องกะประมาณการฝังเสาไม้ง่าม ให้อยู่ในระดับ
               ความสูงพอดีกับความต้องการพอๆ กันทุกต้นด้วย หากหาที่พอดีกันทั้งหมดไม่ได้ ก็จะหาวิธีบากไม้ในบางต้น
               จากลักษณะเสาโครงสร้างดังกล่าวนี้ จึงทำให้เหย้าแบบดั้งต่อดิน ต้องใช้เสาเดี่ยวยาวตลอดทั้งหมด จะใช้เสาค้ำ

               (เสาหมอ/ตอม่อ) เคียงเสาเดี่ยว ก็เฉพาะกรณีที่มีการต่อชานยื่นลดชั้นออกไปทางด้านหน้าเท่านั้น


                      ส่วน กลอน ที่เป็นโครงสร้างของหลังคาที่วางอยู่บนแป นั้น แต่เดิมนิยมใช้ ไม้คอแลน ทำกลอนกันมาก
               เพื่อเป็นไม้ที่มีลักษณะกลม - ตรง ขนาดประมาณข้อมือถึงขนาดท่อนแขน เหมาะที่จะนำมาทำเป็นโครงสร้าง

               ส่วนนี้ โดยไม่ต้องเสียเวลาถากเหลา เพราะเป็นท่อนตรงอยู่แล้ว เพียงแต่นำมาทุบเปลือกออกก็ใช้ทำเป็นกลอน
               ได้ทันที


                      เครื่องประกอบเหย้าแบบดั้งต่อดิน


                      หลังคา : ส่วนใหญ่จะนิยมมุงหลังคาด้วยหญ้าคา, หญ้าแฝก โดยพ่อบ้านส่วนใหญ่แต่ก่อนจะทำกันเอง

               ด้วยการหาหญ้ามาทำให้เป็นตับๆ เพื่อใช้มุงหลังคาที่เรียกกันว่า ไพหญ้า แต่ก็มีอยู่ไม่น้อยที่ใช้ใบไม้ขนาดใหญ่
               มาเย็บร้อยติดกันถี่ๆ วางซ้อนกันหนาๆ มุงหลังคาแทนหญ้า เช่น ใบตองชาด, ใบตองกุง (ใบพลวง) เป็นต้น



                      ในกรณีที่มุงหลังคาด้วยหญ้าหรือใบไม้นี้ นอกจากจะต้องมีหลบ เหมือนเรือนหลังคาจั่วทั่วไปแล้วยัง
               จำเป็นต้องใช้ไม้เสียบตาหนู, ไม้ข่มตาหนู, ไม้ข่มหัวกลอน และ ไม้ข่มเหง หรือ ไม้กันเพิง ไขว้บังคับทับบนจั่ว
               ไว้ด้วย เพื่อป้องกันหลังคาหญ้าหรือใบไม้เปิดปลิว เวลามีลมแรง



                      ฝาเรือน : ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ไม้ไผ่ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น มาทำเป็นฝาลักษณะต่างๆ หลายแบบ เช่น
               ฝาขัดแตะ, ฝาฟากหรือฝาขี้ฟาก, ฝาสานลายสอง, ฝาสานลายสาม, และ ฝาสานลายคุบ นอกจากนี้ยังมี

               การนำใบชาด ใบกุง (ใบพลวง) มาทำเป็นฝาอีกด้วย โดยการนำใบไม้มาเรียงเกยซ้อนกัน แล้วเย็บเก็บติดกัน
               จากนั้นจึงเอาเส้นตอกหนาสานตาห่างๆ เป็นแผ่นวางประกบแนบทั้งสองด้าน เรียกกันว่า ฝาแกบตองหรือฝา
               แขบตอง หรือ ฝาตาบักกอก/ฝาตาหมากกอก โดยนิยมทำฝาชนิดนี้ให้เป็นแผ่นกว้าง - ยาว เท่ากับขนาดห้อง

               เสาหนึ่งๆ พอดี


                      สำหรับฝาตาบักกอกนี้ ภายหลังหันมานิยมใช้กระดาษถุงปูนซีเมนต์ หรือถุงปุ๋ย แทนใบตองกุง ตองชาด

               กันไม่น้อย เพราะสะดวกกว่าเย็บใบไม้มาก


                      พื้น : ส่วนใหญ่เหย้าแบบดั้งต่อดิน มักจะนิยมทำพื้นฟาก หรือ พื้นขี้ฟาก หรือไม่ก็เป็น พื้นลีกไม้ไผ่
               หรือ พื้นแคร่ไม้ไผ่ กันมาก แต่ถ้าจะใช้พื้นไม้จริง ก็ต้องใช้เสาต้นใหญ่ที่ค่อนข้างแข็งแรง รวมทั้งคานและตงที่

               จะรองรับน้ำหนักพื้นไม้จริงด้วย



                      เหย้าแบบดั้งตั้งคาน หรือ เหย้าแบบดั้งตั้งขาง

                      ดังกล่าวแล้วว่า ถ้าถึงเวลาจำเป็นที่ต้องแยกครอบครัวใหม่ทั้งๆ ที่ยังไม่พร้อมที่จะแยก ก็สามารถที่จะ

               แยกครอบครัวออกไปสร้างที่พักอาศัย ที่เรียกว่า ตูบต่อเล้า หรือ ตูบเหย้า คือ เหย้าแบบดั้งต่อดิน อยู่ไประยะ

                                                           40
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47