Page 41 - ebook.msu.ac.th
P. 41

ลักษณะและวิธีการสร้างเหย้าแบบดั้งต่อดินนี้ ถ้าดูเพียงผิวเผินภายนอกแล้ว ก็จะเห็นว่าเหมือนกันกับ
                เรือนเครื่องผูกหรือกระท่อม / กระต๊อบทั่วไปในภาคกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องประกอบเรือนที่พบเห็นได้
                จากภายนอกจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่ทั้งนี้ก็พบว่ามีรายละเอียดบางอย่างแตกต่างกันไปบ้าง ซึ่งขึ้นอยู่

                กับวัสดุที่มีในท้องถิ่นเป็นสำคัญ ส่วนวิธีการสร้างนั้นจะใช้วิธีการผูกมัดโครงสร้างทั้งหมดเช่นเดียวกันกับเรือน
                เครื่องผูก เพียงแต่ว่าเหย้าแบบดั้งต่อดินส่วนใหญ่ มักจะมีการบากไม้ในส่วนที่เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักบ้าง

                เท่านั้น


                       แม้ว่าเหย้าแบบดั้งต่อดินจะมีลักษณะรวมๆ คล้ายกับเรือนเครื่องผูกทั่วไปดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ก็พอ
                มองเห็นความคิดของชาวอีสาน ที่เรียกชื่อเฉพาะของท้องถิ่นได้อย่างข้อนข้างชัดเจนจากการใช้วัสดุในการ
                ก่อสร้าง คือ เรือนเครื่องผูกทั่วไปจะใช้วัสดุจะใช้วัสดุไม้ไผ่เป็นหลักในการก่อสร้าง แต่เหย้าแบบดั้งต่อดินจะใช้

                ไม้จริงกะเทาะเปลือก เป็นโครงสร้างหลักทั้งหลัง


                       ลักษณะและประโยชน์ใช้สอยของเหย้าแบบดั้งต่อดิน ดังกล่าวแล้วว่า เหย้าแบบดั้งต่อดินจะมี
                ลักษณะรวมๆ คล้ายกับเรือนเครื่องผูก หลายแห่งนิยมต่อเกยและชานยื่นออกไปด้านหน้า ลักษณะส่วนใหญ่จึง

                มีเพียงตัวเหย้าที่กั้นฝาโดยรอบทั้ง ๔ ด้าน เจาะช่องประตู เข้า - ออก โดยมีบานประตู เปิด - ปิด บานเดียวหรือ
                ไม่มีก็ได้ แล้ววางบันไดพาดที่ช่องประตูขึ้นสู่ตัวเรือนเลย แต่เท่าที่พบมักจะไม่มีบานประตูเป็นส่วนใหญ่ เพราะ
                บานประตูจะติดหัวบันได


                       เหย้าแบบดั้งต่อดินทั่วไปมักจะยกพื้นไม่สูงนัก คือสูงจะพื้นดินประมาณ ๑ เมตร พอจะขึ้นลงได้ด้วย

                บันไดเพียง ๓ ขั้น ความสูงจากพื้นเหย้าถึงอกไก่มักไม่เกิน ๒ เมตร จึงทำให้ไม่นิยมต่อชานกันนัก เพราะชายคา
                จะต่ำมาก แต่ทั้งนี้ก็มีพบอยู่บ้างที่มีการต่อชาน ซึ่งมักจะเป็นแบบชานเปิดโล่งเหมือนชานแดดของเรือนใหญ่ที่

                ไม่มี เกย คลุม หรือไม่ก็จะใช้วิธีการต่อเกยคลุมยื่นออกไปทางชายคาด้านหน้าเหย้า โดยไม่ยกพื้นชาน ที่ชาวอีสาน
                ทั่วไปเรียกกันว่า เทิบ ซึ่งนิยมใช้ต่อทางด้านข้างของเล้าข้าวและเถียงนากันมากกว่า


                       ลักษณะภายในตัวเหย้า ส่วนใหญ่มักจะปล่อยเป็นห้องโถงตลอด โดยไม่กั้นฝาห้องภายใน เพราะเหย้า

                แบบดั้งต่อดินส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก ๑ ห้องเท่านั้น เพื่อใช้เป็นห้องนอนโดยเฉพาะ ให้รู้สึกว่าเป็นสัดส่วนบ้าง
                แต่ถ้าไม่กั้นห้อง ก็จะใช้นอนกันได้ทั้งพ่อ - แม่และลูกๆ ที่ยังเล็ก ส่วนพื้นที่อื่นๆ ที่เหลือทางด้านหน้าก็จะวาง
                สิ่งของสัมภาระต่างๆ ที่มี ซึ่งอาจจะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งใช้ทำครัวด้วยก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะทำครัวกันบนพื้นดิน

                ทางด้านหน้าหรือที่ใกล้ๆ บันไดทางขึ้นมากกว่า


                       โครงสร้างของเหย้าแบบดั้งต่อดิน


                       เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างแบบดั้งต่อดิน เป็นไม้จริงกะเทาะเปลือกเป็นส่วนใหญ่ทั้งต้นไม้ขนาดเล็ก
                ขนาดกลางหรือกิ่งไม้ที่มีลักษณะตรง จึงสามารถใช้วิธีบากไม้โครงสร้าง ร่วมกันกับวิธีการผูกมัดได้สะดวกและ

                ช่วยทำให้โครงสร้างมั่นคงแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่วางคานหรือขาง, ขื่อ, แปหัวเสา, ปลายดั้ง
                ที่รับอกไก่ และตัวดั้งที่บากรับขื่อและคาน เป็นต้น ซึ่งบางครั้งก็จะเสาะหาไม้จริงที่มีง่ามรับโครงสร้างแทนการ

                บากไม้ก็มีบางทีก็จะบากสับส่วนบนของตัวไม้ป้านลม ให้เป็นปากงับกันและกันทั้งสองตัวที่ไขว้กัน แต่ทั้งหมด
                มักจะผูกมัดด้วย เพื่อให้มั่นคงมากขึ้น

                                                            39
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46