Page 44 - ebook.msu.ac.th
P. 44

เมื่อขึ้นอยู่อาศัยไประยะหนึ่งไม่นานนัก หรือจะเมื่อไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของ ซึ่งมักจะ
               เป็นพ่อบ้าน ที่จะเป็นผู้ทำพิธียกหิ้งเปิงขึ้นไว้ในห้องด้านทิศเหนือหรือทิศตะวันออก เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ
               แสดงถึงอำนาจของเจ้าของที่อยู่อาศัยในหลังนั้น โดยการทำพิธีเล็กๆ เหมือนพอให้เป็นพิธีเท่านั้นและอาจจะมี

               การเชิญหมู่พวกมารับรู้ และร่วมกินอาหารร่วมกัน โดยไม่ต้องมีหมอสูตรหรือพระมาทำพิธีแต่อย่างใดและ
               หลายรายก็จะสร้างหิ้งยกขึ้นเองเลย โดยไม่ต้องมีพิธีกรรมใดๆ เลยก็มี



                      โครงสร้างและเครื่องประกอบของเหย้าแบบดั้งตั้งคาน


                      ดังได้กล่าวมาแล้วว่า เหย้าแบบดั้งตั้งคานจะมีลักษณะรวมๆ คล้ายกับเรือนใหญ่ทั่วไป ซึ่งจัดเป็นเรือน
               เครื่องสับ ที่สร้างด้วยไม้จริงเหมือนกัน จึงทำให้พอมองเห็นได้ว่า โครงสร้างส่วนใหญ่หลายส่วนจะคล้ายๆ กัน

               โดยเฉพาะในแง่ของการแก้ปัญหาเรื่องเทคนิคการก่อสร้าง เพียงแต่ว่าเหย้าแบบดั้งตั้งคาน มักจะแก้ปัญหาทาง
               เทคนิคค่อนข้างจะง่ายกว่า และบางส่วนก็จะแก้ปัญหา เพียงเพื่อให้มั่นคงแข็งแรงในระดับหนึ่ง โดยไม่เน้นเรื่อง

               ความประณีตเหมือนเรือนใหญ่เท่านั้น ทั้งตัวไม้ที่ใช้ก่อสร้างหลายส่วนก็มักจะไม่ค่อยพิถีพิถันมากนัก ที่เป็นเช่นนี้
               ก็คงจะเพราะว่าเหย้าแบบดั้งตั้งคานนี้ แม้จะสร้างด้วยไม้จริงเหมือนเรือนใหญ่ก็ตาม แต่ก็เป็นที่อยู่อาศัยที่ยังไม่
               สมบูรณ์เต็มรูปแบบ ที่ตอบสนองการอยู่อาศัยตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ ความเชื่อของครอบครัวรวม (Stem

               Family) คือสร้างเพียงเพื่ออยู่อาศัยชั่วคราว ตามสภาพของครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ที่พร้อมจะรื้อ
               เพื่อสร้างเป็นเรือนใหญ่ต่อไป เมื่อถึงเวลาหนึ่ง


                      และก็คงจะด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จึงได้เคยมีพบว่า มีเรือนใหญ่บางแห่งที่มีขนาด ๓ ห้องเสา ซึ่งสามารถ
               ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยต่างๆ ในสังคมครอบครัวได้พร้อมอยู่แล้ว แต่ทว่าอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างเก่าชำรุด

               ทรุดโทรมมาก และเจ้าของก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะซ่อมแซมหรือสร้างใหม่ได้ ในเงื่อนไขเศรษฐกิจปัจจุบันจึงได้ถูก
               เรียกว่า เหย้าไปด้วย คือเป็นเรือนที่อยู่ในสภาพที่ต้องรื้อออก เพื่อสร้างใหม่เช่นเดียวกันกับเหย้าแบบดั้งตั้งคาน

               รวมทั้งเหมือนกับตูบต่อเล้าและตูบเหย้าหรือเหย้าแบบดั้งต่อดินด้วย

                      แม้ว่าเหย้าแบบดั้งตั้งคาน จะมีลักษณะรวมๆ คล้ายกับเรือนใหญ่ก็ตาม แต่ก็ยังมีลักษณะบางอย่างที่

               แตกต่างไปจากเรือนใหญ่อย่างเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน เช่น จำนวนห้องเสาของตัวเรือน, การกั้นห้อง, ลักษณะของดั้ง,
               ฝาเรือน, ชานเรือน เป็นต้น


                      ขนาดจำนวนห้องเสา ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดลักษณะรูปแบบของที่อยู่อาศัยนั้น เหย้าแบบดั้งตั้งคานจะมี

               เพียง ๒ ห้องเสา จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องต่อเกยเป็นเพิงยื่นออกไปเหมือนเรือนใหญ่ที่มี๓ ห้องเสา จึงทำให้เหย้า
               แบบดั้งตั้งคานมีขนาดเล็กกว่า และไม่มีห้องเปิง ซึ่งเป็นห้องผีหรือห้องพระโดยเฉพาะด้วย ส่วนการกั้นฝาห้อง
               ภายใน ก็มักจะกั้นหยาบๆ เพียงแค่ทำให้รู้ว่ามีฝากั้นพอเป็นสัดส่วนเฉพาะของห้องนอนเท่านั้น


                      ส่วนลักษณะและขนาดของดั้งนั้น จะเห็นลักษณะที่แตกต่างได้ค่อนข้างชัดเจนคือ แต่ก่อนเหย้าแบบดั้ง

               ตั้งคานจะทำดั้งยาว ตั้งไว้บนหลังคานหรือบนพื้นเรือน ที่ตรงกับแนวคานตัวริมสุดทั้งสองด้านสกัด โดยจะตีแนบ
               กับข้างขื่อ ขึ้นไปรับยอดสะยัวหรือจันทันและอกไก่ โดยใช้เทคนิคที่ประณีตซับซ้อนหลายวิธี แต่ภายหลังแม้พบว่า

               เหย้าแบบดั้งตั้งคานจำนวนหนึ่ง ใช้ดั้งตั้งหลังขื่อ เหมือนเรือนใหญ่อยู่บ้างก็ตาม แต่ก็จะเห็นความแตกต่างได้
               ตรงที่มักจะตีแนบกับขื่อหรือไม่ก็จะบากไม้แล้วตีแนบอยู่บนหลังขื่ออย่างง่ายๆ มากกว่า

                                                          42
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49