Page 45 - ebook.msu.ac.th
P. 45

ฝาเรือน มักจะใช้ฝาสานเป็นลาย ๒ ลาย ๓ บ้าง แต่ส่วนใหญ่จะมักนิยมใช้ฝาสานลายคุบ ซึ่งเป็นที่
                ยอมรับกันว่า เป็นฝาสานที่แน่นและสวยงามกว่าฝาสานทั้งสองแบบแรก แต่ถ้าใช้ไม้จริงทำฝา ที่เรียกกันว่า
                แอ้มแป้น ก็มักจะตีเป็นฝาเพียงหยาบๆ พอให้มิดชิด พร้อมที่จะรื้อปรับไปสร้างเป็นเรือนใหญ่ได้ เมื่อต้องการ



                       สำหรับ ชาน ด้านนอกนั้น เหย้าแบบดั้งตั้งคานส่วนใหญ่ มักไม่นิยมต่อชาน และมักจะทำหลังคาจั่ว
                มุงคลุมตลอดทั้งหลัง ในกรณีที่ถ้าต้องการต่อชานด้วย ก็มักจะต่อออกไปเพียงเล็กน้อย โดยต่อทางชายคายื่นยาว

                ออกไปคลุมชานซึ่งมีขนาดเล็กๆ แคบๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เหย้าแบบดั้งตั้งคานซึ่งมีขนาด ๒ ห้องเสา (๒ X ๒
                ห้อง) ที่มีขนาดเล็กกว่าเรือนใหญ่และไม่มีชานแดด จึงนิยมวางบันไดพาด เพื่อขึ้น - ลง ทางด้านข้างมากกว่า
                ซึ่งจะต่างจากเรือนใหญ่ ที่นิยมวางบันไดพาดทางด้านข้างหรือด้านนอกเรือนก็ได้ เพราะมี ชานแดดที่เปิดโล่ง

                ยื่นออกไปทางด้านนอกอีกช่วงหนึ่ง



                       ความเชื่อในเหย้า : จุดเริ่มต้นของครอบครัวใหม่


                       จากเหตุผลหลายอย่าง ที่ทำให้สังคมของชาวอีสานที่ต้องแยกตัวออกไปเป็นครอบครัวใหม่ดังกล่าว
                แล้วนั้น ไม่ว่าจะแยกออกไปเป็นอิสระเอกเทศ โดยไปอาศัยอยู่ตูบต่อเล้า ตูบเหย้าหรือเหย้าแบบดั้งต่อดิน หรือ
                ไปอยู่เหย้าแบบดั้งตั้งคานก็ตาม ส่วนใหญ่ก็มักจะแยกออกไปสร้างอยู่ในบริเวณที่ดินของพ่อแม่หรือพ่อเฒ่า

                แม่เฒ่านั้นเอง ซึ่งถ้าสร้างตูบต่อเล้าแล้ว ก็ต้องอยู่ในบริเวณบ้านเดียวกันแน่นอนอยู่แล้ว แต่ถ้าสร้างตูบเหย้า
                หรือเหย้าก็อาจจะสร้างอยู่ในบริเวณเดียวกันก็ได้ หรือไม่ก็อาจจะสร้างในที่นาริมหมู่บ้าน หรือไม่เช่นนั้นก็จะไป

                สร้างเป็นเถียงเหย้า ที่มิดชิดกว่าเถียงนาในที่นาของตน ซึ่งมักจะอยู่ไม่ห่างไกลจากชุมชนหมู่บ้านมากนัก
                ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งครอบครัวเดิมและครอบครัวใหม่ จะมีความสัมพันธ์การทางด้านสังคมอยู่เช่นเดิม โดยเฉพาะ
                อย่างยิ่งความสัมพันธ์ของหลานๆ ที่เคยมีกับตาและยายของตน ตามที่เคยอยู่ร่วมกันมาในเรือนใหญ่หลังเดิม



                       แต่การแยกครอบครัวดังกล่าว จะมองเห็นสถานภาพใหม่ของความเป็นครอบครัวใหม่ได้ อย่างค่อนข้าง

                ชัดเจนอย่างน้อย ๒ ลักษณะ ด้วยกันคือ สถานภาพของครอบครัวทางด้าน เศรษฐกิจ และความเชื่อ


                       สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนในการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวใหม่ทางด้านเศรษฐกิจ ก็คือการแยกครัว ที่ใช้หุงหา
                ทำกินเองออกจากครอบครัวเดิมของพ่อแม่ / พ่อเฒ่าแม่เฒ่า ส่วนการทำนานั้น ส่วนหนึ่งจะได้รับส่วนแบ่งที่นา

                ให้ไปทำมาหากินกันเอง ผลผลิตรายได้ก็จะแยกส่วนโดยเฉพาะออกจากครอบครัวเดิม ส่วนที่ดินที่ส้าวนาบุกเบิก
                หักล้างถางพง (Slash and Burn) ในภายหลังการแยกครอบครัว ก็จะเป็นสิทธิของตนเองตามที่ทำได้ จะเหลือ

                ความสัมพันธ์อยู่บ้างก็บางโอกาส ที่อยู่ในลักษณะการช่วยเหลือแรงงานและอื่นๆ บ้างตามความจำเป็นฉะนั้น
                การเริ่มต้นชีวิตครอบครัวใหม่ทางด้านเศรษฐกิจนี้ จึงดูเหมือนจะเป็นการแยกครอบครัว ที่ค่อนข้างจะเห็นได้
                ชัดเจนไม่น้อย และก็จะพบเห็นได้ทั้งครอบครัวใหม่ที่อยู่ตูบต่อเล้า ตูบเหย้า และ เหย้าด้วย


                       ส่วนการแยกครอบครัวใหม่ทางด้านความเชื่อนั้น จะเป็นหลักฐานที่ชัดเจนมากที่สุด ที่ทำให้เห็นการ

                แยกครอบครัวอย่างเด็ดขาดออกจากครอบครัวเดิม เพราะจากการสำรวจศึกษาสังคมครอบครัวของชาวนา
                อีสานในอดีตนั้น จะไม่พบการสร้างความเชื่อใหม่ในสังคมที่แยกออกไปอยู่ตูบต่อเล้าและตูบเหย้าเลย แต่จะพบ

                เพียงเฉพาะครอบครัวที่แยกออกไปสร้างเหย้าแบบดั้งตั้งคานอยู่อาศัยกันเท่านั้น

                                                           43
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50