Page 46 - ebook.msu.ac.th
P. 46

การที่กล่าวว่า ความเชื่อที่มีในเหย้า คือจุดบ่งชี้ถึงการแยกครอบครัวอย่างเด่นชัดที่สุด ทั้งๆ ที่การสร้าง
               เหย้าของครอบครัวใหม่เกือบจะไม่ต้องมีวิธีรีตรองอะไรเลยก็ตามนั้น ก็เพราะว่า เหย้าเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว
               สร้างกันอย่างง่ายๆ เท่าที่พอจะหาวัสดุได้ในท้องถิ่น และมีการสร้างให้แล้วเสร็จในเวลาอันจำกัด เพื่อจะเข้าอยู่

               อาศัยได้ทันที ครั้นเมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีพิธีขึ้นอยู่อาศัยด้วย แต่ทว่าเมื่อขึ้นอยู่ในเหย้าได้ระยะ
               หนึ่งแล้ว พ่อบ้านซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวใหม่จะต้องทำพิธียก หิ้งเปิง ขึ้นไว้ที่ฝาด้านหลังหรือยกไว้ที่เสาต้น

               ริมสุด ในห้องด้านทิศเหนือหรือทิศตะวันออก ซึ่งเป็นความเชื่อถือและเรียกกันว่า หัวเรือน (ขึ้นอยู่กับว่า เหย้า
               และเรือนหลังนั้นจะหันหน้าไปทางทิศไหนเป็นสำคัญ ซึ่งจะต้องยึดเอาห้องที่อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออก
               เป็นที่ไว้เปิงเสมอ)



                      เนื่องจากว่าเหย้าทั่วไปจะมีขนาด ๒  X ๒ ห้องเสา ซึ่งพอเหมาะพอสมที่จะอยู่กันแบบครอบครัวเดี่ยว
               ที่มีเพียงพ่อ - แม่ นอนอยู่ห้องหนึ่ง และลูกๆ ยังเด็กนอนในอีกห้องหนึ่ง ส่วนลูกน้อยก็ให้นอนกับพ่อแม่ได้ส่วน

               พื้นที่อีก ๒ ห้อง ข้างหน้าที่เปิดโล่งอาจถูกแบ่งใช้ทำประโยชน์อื่นๆ เช่น ทำครัว วางสิ่งของสัมภาระต่างๆ ใช้เป็น
               ที่รับแขกหรือนั่งเล่น ฯลฯ ฉะนั้นการยกหิ้งเปิงขึ้นในห้องด้านทิศเหนือหรือทิศตะวันออก จึงเป็นการยกหิ้งผี
               ที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ ของความเป็นเจ้าของ ที่มีอำนาจเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของครอบครัวใหม่ เพื่อรอ

               การขยับขยาย โดยการรื้อเหย้าเพื่อสร้างเรือนใหญ่ต่อไปในอนาคต



                      ค่านิยมในอดีต : จะมีครอบครัว......มักดูเรือน ดูเล้า


                      แม้ว่าสังคมทั่วไปจะเปิดโอกาสให้บ่าว - สาว ได้พบปะร่วมกิจกรรมกันในหลายๆ โอกาส ซึ่งเป็น
               ช่องทางที่ทำให้คนในสังคมได้เลือกคู่ครองเป็นครอบครัว เป็นการอนุญาตให้เลือกคู่ครองตามความต้องการที่
               พอใจของเจ้าตัวทั้งสองฝ่าย แต่ขณะเดียวกัน ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ก็มีส่วนร่วมในการ

               พิจารณาเลือกคู่ครองให้กับลูกหลานของตนด้วยเช่นกัน ซึ่งปกติแล้วผู้บ่าว-ผู้สาวส่วนใหญ่ มักจะเลือกความพึง
               พอใจส่วนตัวของตนเป็นสำคัญ แต่พวกญาติผู้ใหญ่มักจะพิจารณาเรื่องฐานะความเป็นอยู่กับสมบัติของแต่ละ

               ฝ่ายเป็นสำคัญมากกว่า รวมทั้งส่วนหนึ่งก็จะอนุโลมตามที่ลูกหลานพอใจไปพร้อมกันด้วย คือฝ่ายหญิงก็มี
               คุณสมบัติที่พอจะเป็นหญิงแม่เรือนได้ และฝ่ายชายก็มีความขยันขันแข็งทำมาหากินพอตัว ไม่เกียจคร้าน เมื่อ
               ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจกัน ก็น่าจะสร้างตัวกันได้ กรณีเช่นนี้ ฐานะความเป็นอยู่ของแต่ละฝ่ายก็ดูจะลดความสำคัญ

               ลงไป เพราะส่วนใหญ่คนในชุมชนละแวกเดียวกัน ก็มักจะรู้ๆ กันอยู่แล้ว


                      แต่ถ้าจะต้องดูฐานะความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจประกอบกันแล้ว ในกรณีที่เป็นคนต่างชุมชนไกลๆ

               กันนั้นผู้ใหญ่ฝ่ายชายมักจะใช้วิธีการสืบฐานะของฝ่ายหญิงจากคนอื่น ที่พอจะรู้จักกับทางฝ่ายหญิง และ
               ถ้าเป็นไปได้ก็จะพยายามหาโอกาสไปดูบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและดูเล้าข้าวไปพร้อมๆ กันด้วยเพราะลักษณะของ
               ที่อยู่อาศัยมักจะบ่งบอกความดี ความขยันขันแข็งของพ่อแม่ ส่วนเล้าข้าวจะบ่งบอก ฐานะทางเศรษฐกิจ เพราะ

               ประมาณข้าวและจำนวนเล้าข้าวจะบอกถึงจำนวนที่ดินทำกินได้


                      การที่ผู้ใหญ่ฝ่ายชายให้ความสำคัญเรื่องที่อยู่อาศัย คือเรือนและเล้าข้าวนั้น ก็เนื่องจากค่านิยมในการ

               แต่งงานในอดีต ฝ่ายชายต้องไปอยู่กับฝ่ายหญิง ที่มักพูดกันว่า เอาเขยเข้าบ้าน ต้องไปรับมรดกจากทางฝ่าย
               หญิงเท่านั้น เว้นแต่ว่าลูกชายและลูกสะใภ้ลำบากยากไร้จริงๆ เท่านั้น จึงจะแบ่งมรดกให้ด้วย ซึ่งแต่ก่อนก็มัก

                                                           44
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51