Page 47 - ebook.msu.ac.th
P. 47

ไม่ค่อยมีปัญหากันเท่าใดนัก เพราะการส้าวนาในลักษณะที่เรียกว่าหักร้างถางพงขยายที่ดินทำกินกันเองได้ไม่
                ยากนัก แต่ต่อมาภายหลัง ขยับขยายที่ดินทำกินกันเองได้ยากและขยายกันเองไม่ได้แล้ว จึงได้มีการแบ่งมรดก
                ให้กับทั้งลูกสาวและลูกชาย



                       ที่พักอาศัยแบบต่างๆ ในสมัยก่อนจึงเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกขนาดครอบครัว ความขยันหมั่นเพียรของ
                หัวหน้าครอบครัวได้ ซึ่งเป็นเหมือน สถานภาพทางสังคม ของครอบครัวนั้นนั่นเอง คือเมื่อออกจากตูบต่อเล้า
                ไปสร้างเหย้าแล้ว ต่อไปก็จำเป็นต้องขยับขยายที่อยู่อาศัย ไปสู่การสร้างเรือนใหญ่ต่อไปให้ได้ในวันหนึ่งข้างหน้า

                เพราะทั้งเรือนใหญ่และเล้า เป็นเครื่องบ่งบอกคุณค่าของคนในครอบครัวได้



                       เหย้า : เส้นทางการสร้างครอบครัวใหม่

                       ดังได้กล่าวมาแต่ตอนต้นๆ แล้วว่า การที่คู่แต่งงานชาวอีสานแยกครอบครัวออกจากครอบครัวรวม

                (Stem Family) ไปอยู่กันเองเป็นครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ด้วยเหตุผลความจำเป็น หรือตามความ
                ต้องการเมื่อถึงเวลาอันสมควรนั้น ถ้ายังไม่มีความพร้อมเรื่องวัสดุอุปกรณ์ที่จะสร้างที่พักอาศัยเท่าที่ควร ก็มัก
                จะแยกออกไปสร้างตูบต่อเล้า เป็นเพิงยื่นออกจากเล้าข้าวของพ่อแม่ / พ่อเฒ่าแม่เฒ่า แล้วยกพื้นอยู่อาศัย

                ชั่วคราวก่อน หรืออาจจะแยกออกไปสร้างตูบเหย้าหรือเหย้าแบบดั้งต่อดินอยู่กันเลยก็มี และก็มีจำนวนไม่น้อย
                ที่แยกออกไปสร้างเหย้าแบบดั้งตั้งคานเลย โดยไม่ต้องผ่านการสร้างที่อยู่อาศัยแบบต่างๆ ดังกล่าว


                       จากหลักฐานการแยกครอบครัวออกไปอยู่เหย้ากันเองทั่วๆ ไปนั้น พบว่าในอดีต มักจะไม่รู้สึกกันว่า
                เป็นคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจยากจนหรือต่ำต้อยแต่อย่างใด เพราะการแยกครอบครัวออกไปอยู่ตูบ - เหย้านั้น

                จะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระยะเวลา, ความพร้อมและค่านิยมสังคม ที่เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ต้องทำกันเช่นนั้น
                มากกว่า เนื่องจากการแยกออกไปอยู่ในที่พักอาศัยดังกล่าว เป็นความเหมาะสมกับขนาดของครอบครัวเดี่ยว

                ที่อยู่กันเพียงพ่อแม่และลูกๆ ที่ส่วนมากก็ยังเล็กๆ อยู่ ยังไม่มีความจำเป็นต้องสร้างเรือนใหญ่ก็ได้ ฉะนั้นจึงพบว่า
                แต่ก่อนจะไม่มีใครแยกออกไปสร้างเรือนใหญ่อยู่ทันทีกันเลย เพราะการสร้างเรือนใหญ่จะต้องอาศัยความพร้อม
                ในหลายๆ อย่างมากพอสมควร เช่น วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง เวลาในการเตรียมวัสดุแรงงาน ฯลฯ ทั้งยังจะต้อง

                มีพิธีกรรมความเชื่อในการเตรียมวัสดุและการก่อสร้างในหลายๆ ขั้นตอนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอีกมาก จนเหมือน
                จะเป็นที่รู้และยอมรับกันทั่วไปว่า เป็นการยากที่จะสร้างเรือนใหญ่ได้ในทันที


                       ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องปรกติที่ครอบครัวใหม่ในอดีต จะต้องแยกออกไปอยู่ตูบ - เหย้ากันก่อน จนเป็นค่านิยม

                ของสังคมอีสานเรื่อยมา แต่ขณะเดียวกันก็เป็นที่รู้และเข้าใจกันในสังคมว่า เมื่อแยกครอบครัวใหม่ออกไปแล้ว
                ก็จะมุ่งมั่นที่จะสร้างครอบครัวให้อยู่ในฐานะดีขึ้น ด้วยการทำมาหากินในที่ดินมรดกและทำการส้าวนาขยาย
                ที่ดินทำมาหากินให้มากขึ้น เพราะนั้นคือการที่จะได้วัสดุไม้จริงจำนวนหนึ่งมาสร้างเรือนใหญ่ไปพร้อมกันด้วย


                       จากหลักฐานข้อมูลสนาม เกี่ยวกับการแยกครอบครัวออกไปสร้างตูบ - เหย้านี้ มีพบว่าจะมีเฉพาะ

                เหย้า (แบบดั้งตั้งคาน) เท่านั้น ที่พ่อบ้านซึ่งอยู่ในฐานะผู้นำครอบครัว มักจะยกหิ้งเปิงให้เป็นเสมือนสัญลักษณ์
                ของความเชื่อเรื่องผี ที่จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอำนาจปกครองของครอบครัวใหม่ ที่จะต้องมีลูกเขยจากตระกูล

                อื่นมาอยู่ร่วมด้วยในวันข้างหน้า เพียงแต่ว่าหิ้งเปิงหรือหิ้งผีดังกล่าว ที่ยกขึ้นไปในห้องหนึ่งนี้ ยังไม่เรียกว่าห้อง
                เปิงเท่านั้นเอง เพราะเหย้ายังไม่มีห้องเปิงเป็นเอกเทศโดยเฉพาะ

                                                            45
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52