Page 48 - ebook.msu.ac.th
P. 48

แต่ไม่ว่าจะแยกครอบครัวใหม่ออกไปอยู่ที่ตูบหรือเหย้าก็ตาม สังคมในอดีตจะรู้ๆ กันอยู่ว่า ที่พักอาศัย
               ทั้งหลายดังกล่าว จะมีลักษณะเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว ที่พร้อมจะรื้อเพื่อสร้างเรือนใหญ่ขนาด ๓ ห้องเสา ต่อไป
               ในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน เพราะเรือนใหญ่คือ เป้าหมายสูงสุด ของทุกครอบครัวในอดีตสังคมอีสาน ที่สามารถ

               ตอบสนองความต้องการด้าน ประโยชน์ใช้สอย ความเชื่อ เศรษฐกิจ สังคมและการปกครองในระบบครอบครัวได้
               และเป็นเสมือนความสำเร็จของชีวิตครอบครัวที่พึงปรารถนาตามความหวังของสังคม ดังคำกล่าวโบราณอีสาน

               ที่ว่า สุขเพราะมีเรือนใหญ่มุงแป้นกระดาน และจะเป็นผลนำมาซึ่งความสุขอีกอย่างหนึ่งคือ สุขเพราะมีลูกหลาน
               หลายมานั่งเฝ้า เพราะเมื่อมีเขยมาอยู่ร่วมเรือน ก็จะต้องมีลูกหลานหลาย


                      ฉะนั้นการสร้างเหย้า จึงเป็นเพียงเส้นทางผ่านของการสร้างครอบครัวใหม่ ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น

               โดยมีเป้าหมายความสามารถที่จะก้าวไปสู่การสร้างเรือนใหญ่ที่สมบูรณ์แบบต่อไป



                      เหย้าแบบใหม่กับค่านิยมเปลี่ยนแปลง


                      แล้วที่สุดก็ต้องยอมรับว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งที่อยู่อาศัยที่เรียกว่าตูบเหย้าหรือเหย้า
               ก็หนีไม่พ้นกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คือ จากการที่มีความสัมพันธ์อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระบบ
               ครอบครัวเดี่ยว ที่เริ่มแยกออกจากครอบครัวรวม โดยแยกเป็นเอกเทศทางเศรษฐกิจด้วยการออกไปตั้งครัวใหม่

               กันเอง ทำมาหากินสะสมสร้างตัวกันเอง แต่ยังคงมีความสัมพันธ์ทางสังคมกับครอบครัวเดิม ซึ่งจัดว่าเป็นการ
               แยกครอบครัวใหม่ตามค่านิยมของสังคมเก่าตามปรกติ ที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เป็นเพียงเส้นทางผ่านของชีวิต

               ครอบครัวใหม่ ที่จะสร้างเรือนใหญ่ที่สมบูรณ์แบบตามค่านิยมของสังคมสมัยนั้น ในลักษณะเหมือนนกน้อยทำรัง
               แต่พอตัวก่อน ฉะนั้นการสร้างเหย้าเพื่ออยู่อาศัยในอดีต จึงไม่ใช่เครื่องกำหนดวัดค่าฐานะทางเศรษฐกิจของ
               ครอบครัวแต่อย่างใด



                      แต่เมื่อสังคม - วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป พื้นที่ป่าดงทั่วไปกลายเป็นวนอุทยาน อุทยานและป่าสงวน
               แห่งชาติไปหมดแล้ว ไม่สามารถจะส้าวนาหักร้างถางพงได้ดังแต่ก่อน สิทธิการครอบครองถูกกำหนดจำกัดเขต

               ไม้สร้างเรือนก็เหลือแต่ตามหัวไร่ปลายนา ไม่เพียงพอที่จะก่อสร้าง ทั้งวัสดุใหม่ๆ ก็มีให้เลือกมากขึ้น แต่ต้องซื้อ
               หาด้วยเงินตรา ด้วยเหตุนี้ จึงต้องดิ้นรนแสวงหางานอื่นทำ เพื่อให้ได้เงินมาซื้อวัสดุก่อสร้างที่อยู่อาศัยรูปแบบ
               ใหม่ แทนเหย้าหรือเรือนใหญ่ที่ชำรุดทรุดโทรม ตามกำลังฐานะทางเศรษฐกิจ จึงทำให้เหย้าซึ่งเคยมีความ

               เหมาะสมกับขนาดของครอบครัวเดี่ยวตามค่านิยมเดิม กลายเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวที่มีฐานะยากจนทาง
               เศรษฐกิจไปโดยปริยาย เพราะเป็นที่พักอาศัยขนาดเล็กและมีลักษณะชั่วคราว ไม่ประณีตและไม่มั่นคงแข็งแรง

               ที่สำคัญคือไม่ทันสมัย


                      เมื่อหาวัสดุอุปกรณ์ด้วยกำลังความเพียรไม่ได้ดังแต่ก่อน แต่ละครอบครัวจึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

               ที่อยู่อาศัยของตนตามกำลังเศรษฐกิจ - เงินตรา เท่าที่จะทำได้ ฉะนั้นความเหมาะสมกับขนาดของครอบครัว
               จึงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญรองลงไป เพราะต้องปรับให้เหมาะสมกับฐานะการเงินมากกว่า








                                                           46
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53